Grid Brief

  • แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปเพียงใด บุคลากรก็ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในองค์กร ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงมีหน้าที่บริหารจัดการบุคลากรในองค์กร
  • การเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้านที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในปัจจุบัน โดยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่ง ทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของแต่ละบริษัทต้องปรับตัวรับมือให้ทันสถานการณ์ ในการสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ เพื่อนำพาธุรกิจสู่โอกาสและทางรอดในอนาคต

เมื่อโรคโควิด-19 เข้ามาเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน รวมถึงบริบททางสังคมและการดำเนิน ธุรกิจที่เปลี่ยนไป ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือวงการ Human Resource (HR) จึงต้องปรับตัวด้วยการศึกษา เรียนรู้ วิเคราะห์ แนวทางธุรกิจในองค์กรว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจไปในทางใดบ้าง รวมถึงการยกระดับการทำงานด้านกลยุทธ์มากขึ้น เพื่อสร้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพ พร้อมทำงานให้ทันกับกระแสโลกในอนาคต

จากรายงานของ LinkedIn’s Workplace Learning Report 2021 ทำให้เห็นว่า อัตราการปรับบริบทหน้าที่ของพนักงานภายในองค์กรมีมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 19% ในช่วงเดือนเมษายน – สิงหาคม 2562 และเพิ่มอีก 19.6% ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563

สอดคล้องกับ SEAC (Southeast Asia Center) หรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ระบุว่า บริบทการทำงานของทั้งองค์กรและบทบาทหน้าที่ของพนักงานเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่าย HR ที่ต้องเข้าใจในสถานการณ์และปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อสรรหาพัฒนาบุคลากรในการนำพาธุรกิจสู่โอกาสและทางรอดในอนาคต

ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายองค์กรชั้นนำทั่วโลก สรุปออกมาเป็น 8 เทรนด์ใหม่ ๆ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่กระแสการดำเนินธุรกิจและการทำงานของพนักงานทั้งองค์กร ดังนี้ 

1. Hiring New Talent Internally 

การสรรหาบุคลากรภายในองค์กรที่เข้าใจและเหมาะสมกับเนื้องานใหม่ในปัจจุบัน ผ่านการเพิ่มหน้าที่และบทบาท หรือสลับเปลี่ยนรูปแบบงานให้เหมาะสมกับพนักงานภายในของบริษัทฯ มากขึ้นตามรูปแบบของสังคมและธุรกิจที่เปลี่ยนไป


2. Building New Management Models for a Multigenerational Workforce

กลยุทธ์การสร้างสัมพันธ์ภายในของคนทำงานหลากหลายเจเนอเรชั่น  เป็นเรื่องที่หลายบริษัทหลายองค์กรกำลังเผชิญ รวมทั้งต้องเร่งวางกลยุทธ์หรือการสร้างโมเดลใหม่ ๆ  เพื่อให้พนักงานในแต่ละเจเนอเรชั่นสามารถทำงานแบบพึ่งพิงกันและกัน และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน


3. Enabling Hybrid Workplaces 

ความท้าทายใหม่บนวิกฤตินั้น คือการที่ HR ต้องสามารถสร้างจุดเชื่อมการทำงานที่ผสานระหว่างการทำงานบ้านกับการทำงานที่ออฟฟิศ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับออฟฟิศและเพื่อนร่วมทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างผลงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิผลที่ดี

4. Rethinking Work for Gen Z 

การมาถึงของเจเนอเรชั่น Z นับเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของ HR โดยเฉพาะการเข้าใจธรรมชาติและบริบทพนักงานเจเนเรชั่น Z เพื่อให้สามารถปรับนโยบาย และแนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่น พร้อมกับการสร้างการทำงานร่วมกันของพนักงานในองค์กรและกลุ่มพนักงานใหม่มากขึ้น


5. Benefiting from a Growing Gig Economy 

ว่ากันว่า Gig worker กับการทำงานในปัจจุบันได้รับความนิยมในหลาย ๆ สายงาน ซึ่งเน้นรูปแบบการว่าจ้างงานแบบฟรีแลนซ์ และพนักงานชั่วคราวมากขึ้น

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือวงการ Human Resource (HR) จึงต้องปรับตัวด้วยการศึกษา เรียนรู้ วิเคราะห์ แนวทางธุรกิจในองค์กรว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจไปในทางใดบ้าง รวมถึงการยกระดับการทำงานด้านกลยุทธ์มากขึ้น เพื่อสร้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพ พร้อมทำงานให้ทันกับกระแสโลกในอนาคต

6. Increasing Need for Power Skills: Soft Skills, Digital Skills, Thinking Skills

จากการที่ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ทำให้คนเดินทางไปสู่ไลฟ์สไตล์ชีวิตแบบดิจิทัล เกิดการทดแทนทรัพยากรคนด้วยเครื่องจักรมากขึ้น ทำให้ HR ต้องเร่งปรับและพัฒนาคนในองค์กร เพื่อให้เข้าถึงพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ทประกอบไปด้วย Soft Skills ทักษะทางอารมณ์และการปรับตัว, Hard Skills ทักษะเฉพาะวิชาชีพ, Digital Skills ทักษะดิจิทัล และ Thinking Skills ทักษะด้านความคิด ซึ่งแต่ละด้านต่างมีความสำคัญทั้งในส่วนบุคคลและองค์กร


7. Planning Perpetual Reskilling/Upskilling at Speed 

ควรวางแผนการเรียนรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับทักษะจำเป็น หรือทักษะที่พนักงานสนใจเพื่อเสริมศักยภาพของพนักงาน


8. Increasing Focus on Building Learning Ecosystems 

การสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพิ่มทักษะใหม่ และเพิ่มนวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบการมีส่วนร่วมของกันและกัน รวมทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์ใหม่ ๆ เทคโนโลยีและข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

ดังนั้น จึงไม่ควรประมาทท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนไป เพราะถ้าองค์กรไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ได้ นั่นอาจหมายถึงขีดความสามารถในการแข่งขันอาจต้องสะดุดไป รวมถึงการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริมทัพเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กร

Cover Illustration โดย ANMOM