Grid Brief

  • ปีนี้คนไทยจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เพราะมีมาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุนประชาชนให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เช่น มีเงินอุดหนุนสูงสุด 150,000 บาทต่อคัน การลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์เป็น 0% หรือยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ
  • นวัตกรรมของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันถือว่าล้ำหน้าไปมาก การอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง รถวิ่งได้ไกลถึง 200 – 500 กิโลเมตร และประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเติมน้ำมันแบบเดิมได้ถึง 3 เท่า
  • การติดตั้งที่อัดประจุไฟฟ้าถือเป็นการลงทุนอีกอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อส่งเสริมการตลาดให้กับธุรกิจของตัวเอง

ด้วยปัจจัยหลายอย่างนับตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ทำให้กระแส “รถยนต์ไฟฟ้า” เป็นที่พูดถึงในวงกว้าง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจนเกือบแตะลิตรละ 50 บาท และผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายที่แข่งกันเปิดตัวนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับผู้ใช้ จึงเป็นที่คาดหวังว่า อีกไม่นานคนไทยน่าจะใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น แล้วพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะส่งผลอย่างไรด้านเศรษฐกิจและการลงทุนบ้าง

ความคุ้มค่าที่จับต้องได้จริง

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะได้รับการพัฒนามานับสิบปี โดยมีค่ายรถยนต์ Tesla ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านนี้ แต่ก็ยังประสบปัญหาด้านเสถียรภาพและสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ยังติดตั้งไม่ทั่วถึง ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ค่ายอื่น ๆ ไม่ได้นิ่งนอนใจ และหันมาสนใจการพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคตนี้อยู่เช่นกัน โดยก่อนหน้านี้เราคงเคยได้ยินรถยนต์ “ระบบไฮบริด” ซึ่งเครื่องยนต์จะทำงานควบคู่กันระหว่างระบบไฟฟ้าและน้ำมัน ช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ลดเสียงรบกวน และประหยัดน้ำมันลง แต่ยังประสบปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ที่ราคาสูง และชิ้นส่วนบางประเภทซึ่งยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

ปัจจุบันที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ผ่านมติการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบรถนั่งส่วนบุคคล รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ โดยจะออกมาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เช่น มีเงินอุดหนุนสูงสุด 150,000 บาทต่อคัน การลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์เป็น 0% หรือยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ โดยจะประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ความช่วยเหลือเหล่านี้จากภาครัฐเพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกลง ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของได้

ในขณะเดียวกัน ค่ายรถยนต์ก็ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ และรุ่นใหม่ ๆ ให้เลือกซื้อมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะคันใหม่ไปพร้อมกัน

สำหรับความคุ้มค่าในทางตรง รถยนต์ไฟฟ้าช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้มาก การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายลิตรละไม่ถึง 1 บาท ในขณะที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันมีค่าใช้จ่ายประมาณลิตรละ 3 บาท หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1:3 (คิดจากราคาน้ำมันลิตรละ 49 บาท โดยเฉลี่ยการใช้พลังงาน 15 กิโลเมตรต่อลิตร) นั่นหมายความว่า หากคุณขับรถยนต์ไฟฟ้าไปประมาณ 200,000 กิโลเมตร จะสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากถึง 400,000 บาท ไม่รวมค่าซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งรถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากกว่า เพราะรถยนต์ไฟฟ้ามีชิ้นส่วนกลไกน้อยกว่า และไม่สะสมมลพิษสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของน้ำมัน ทั้งนี้ เงินที่เหลือจากการเติมน้ำมันคุณสามารถนำไปลงทุนให้เกิดผลประโยชน์ได้ 

เห็นไหมว่า การเลือกรถยนต์ที่เหมาะสม ช่วยให้คุณประหยัดได้ไม่น้อยเลย

การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายลิตรละไม่ถึง 1 บาท ในขณะที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันมีค่าใช้จ่ายประมาณลิตรละ 3 บาท หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1:3 (คิดจากราคาน้ำมันลิตรละ 49 บาท โดยเฉลี่ยการใช้พลังงาน 15 กิโลเมตรต่อลิตร) นั่นหมายความว่า หากคุณขับรถยนต์ไฟฟ้าไปประมาณ 200,000 กิโลเมตร จะสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากถึง 400,000 บาท

เทคโนโลยีที่มาพร้อมความยั่งยืน

รถยนต์กลายเป็นตัวการก่อปัญหาหลายอย่างสำหรับโลกยุคปัจจุบัน เพราะการเผาไหม้น้ำมัน ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลก นวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจึงถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้โลกของเรา ความกังวลเรื่องสถานีอัดประจุไฟฟ้านอกเมืองใหญ่เริ่มหมดไป เมื่อสามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้งนั้น ขับได้ไกลถึง 200-500 กิโลเมตรตามแต่ขนาดแบตเตอรี่ของรถแต่ละรุ่น 

ในมิติทางธุรกิจ การติดตั้งที่อัดประจุไฟฟ้าถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ หรือโรงแรมขนาดเล็กที่อยากได้ลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งกำลังมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในการอัดประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่รถยนต์นั้นต้องใช้ระบบชาร์จแบบ ‘Quick Charge’ ซึ่งมีหลายประเภทให้เลือก เพราะรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นนั้นมีระบบรองรับที่แตกต่างกัน แต่ในขณะเดียวกัน เจ้าของธุรกิจเองก็สามารถหารายได้จากการติดตั้งที่อัดประจุไฟฟ้าได้ด้วย จากการทำธุรกิจร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ผ่านผลิตภัณฑ์ PUPAPLUG

ซึ่งเป็นเต้ารับสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ที่มาพร้อมกับระบบสำหรับการบริหารจัดการในรูปแบบของ Web Application ที่ออกแบบให้ใช้งานง่ายและสะดวก เป็นการสร้างรายได้ให้อีกทางหนึ่ง แล้วยังส่งเสริมธุรกิจของตัวเองให้เติบโตได้ด้วย เพราะระหว่างที่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารออัดประจุไฟฟ้า สามารถมาใช้บริการจากธุรกิจของเจ้าของสถานที่ได้