Grid Brief
- การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของมนุษย์ออฟฟิศ ในการทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ ทำให้เป็นอีกเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจเปลี่ยนงาน
- การรับมือของนายจ้างกับปรากฏการณ์แห่ย้ายงานของลูกจ้าง ทำได้โดยการกำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน มีความยืดหยุ่นและยุติธรรม มีความเห็นอกเห็นใจกัน และให้คุณค่ารวมถึงสนับสนุนการเติบโตของพนักงาน
เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นในหลายองค์กร ด้วยเชื่อว่า หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลับสู่ภาวะที่ทุกคนปรับตัวรับมือได้ ต้องการย้ายงานของพนักงานหรือมนุษย์ออฟฟิศน่าจะพุ่งสูงขึ้นมากทีเดียวทั่วโลก
ผลสำรวจจากรายงานการมีส่วนร่วมและการรักษาแรงงานใน พ.ศ.2564 (Engagement and Retention Report 2021) ซึ่งจัดทำโดย Achievers Workforce Institute ระบุว่า 52% ของผู้ตอบ แบบสอบถาม ต่างพากันวางแผนจะ หางานใหม่ โดยสถิติดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 35% ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจาก Microsoft’s Work Trend Index ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31,092 คน จาก 31 ประเทศ ทั่วโลก พบว่า 41% มีแผนที่จะย้ายงาน เพราะการเดินทางไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการทำงานไกลบ้านอีกแล้ว เมื่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าสามารถทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกไปนี้ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลเหล่านี้เป็นเสมือน ‘สัญญาณเตือนภัย’ ขององค์กรและเหล่านายจ้างว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิลูกใหม่ของการย้ายงาน และคลื่นลูกนี้มีท่าทีรุนแรงกว่าในอดีต ด้วยรูปแบบ Remote Working และ Hybrid Working ที่เพิ่ง เกิดขึ้นหลังจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ทำงานไปจากเดิม อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วการย้ายงานหรือการเปลี่ยนที่ทำงานใหม่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับมนุษย์ออฟฟิศ เพราะทุกคนต่างต้องการโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน เงินเดือนที่สูงขึ้น และความท้าทายใหม่ ๆ ในชีวิต
เตรียมพร้อมตั้งรับกับคลื่นลูกนี้อย่างไรดี
1. กำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน
จากรายงานการมีส่วนร่วมและการ รักษาแรงงานใน พ.ศ. 2564 ของ Achievers Workforce Institute ระบุว่า 1 ใน 4 ของพนักงานมองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานเป็นเหตุผลอันดับหนึ่งในการหางานใหม่ เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่า เส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัวนั้นเริ่มจางหายไประหว่างการ Work from home หรือพูดง่าย ๆ พวกเขารู้สึกเหมือนถูกคาดหวังให้พร้อมสแตนด์บายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ลองหาแนวทางที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อช่วยพวกเขาหาจุดสมดุลนั้น
2. ยืดหยุ่นและยุติธรรม
ให้ความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่ชื่นชมใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษหรือมีสองมาตรฐานในองค์กร หากมีพนักงานคนใดทำผิดพลาดขึ้น ให้ตักเตือนตามความเหมาะสม ไม่กล่าวโทษหรือดุด่าอย่างรุนแรง เพราะแท้จริงแล้วความผิดพลาดถือเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์
Achievers Workforce Institute ระบุว่า 52% ของผู้ตอบ แบบสอบถาม ต่างพากันวางแผนจะ หางานใหม่ โดยสถิติดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 35% ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจาก Microsoft’s Work Trend Index ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31,092 คน จาก 31 ประเทศ ทั่วโลก พบว่า 41% มีแผนที่จะย้ายงาน เพราะการเดินทางไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการทำงานไกลบ้านอีกแล้ว
3. มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
จากรายงานการตรวจสอบความเห็น อกเห็นใจในที่ทำงาน ( Workplace Empathy Monitor Report) โดย Businessolver.com ชี้ว่า ความเห็นอกเห็นใจจากเจ้านายมีผลต่อโดยตรงต่อความจงรักภักดี การมีส่วนร่วมและระยะเวลาที่พนักงานคนนั้น ๆ ทุ่มให้กับงาน โดย 77% บอกว่า เต็มใจจะทำงานหลายชั่วโมงในบริษัทที่เจ้านายมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น 60% บอกว่า เต็มใจจะยอมรับเงินเดือนที่ลดลงในบริษัทที่เจ้านายมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น และ 92% ของผู้เชี่ยวชาญฝ่ายทรัพยากรบุคคล เผยว่า สถานที่ทำงานที่มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการรักษาพนักงานเอาไว้
4. ให้คุณค่าและสนับสนุนทุกการเติบโต
คงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่เป็นสิบ ๆ ปี ลองส่งพนักงานเข้าร่วมกา ฝึกอบรมต่าง ๆ มัดใจพนักงานด้วยการให้ความสำคัญกับการเติบโตในหน้าที่การงาน ทำให้พวกเขารู้สึกว่า องค์กรพร้อมที่จะเติบโตไปด้วยกัน สร้างความรู้สึก ‘การเป็นเจ้าของ’ ให้พวกเขา ด้วยการมอบหมายหน้าที่สำคัญต่าง ๆ เพราะยิ่งพวกเขารู้สึกเป็นเจ้าของมากแค่ไหน ก็จะยิ่งรักและทุ่มเทให้องค์กรจนไม่อยากจากไปที่อื่น
เรื่องโดย วิชชุ