Grid Brief

  • ความเครียดทางการเงิน หรือ Financial Anxiety คือ ภาวะวิตกกังวลที่เกิดจากประเด็นทางการเงินที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นคงทางการเงิน
  • วิธีรับมือกับความเครียดทางการเงินที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันจนรู้สึกไม่มีความสุข ทำได้ด้วยการสำรวจตัวเอง จดบันทึกการใช้จ่ายอย่างละเอียด หาแนวทางแก้ปัญหา วางแผนการใช้เงินรายเดือน และจัดการกับความเครียดของตัวเอง

‘เงินทอง’ นอกจากเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใครแล้ว ยังเป็นเรื่องสําคัญที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน และเป็นสาเหตุสําคัญของความเครียดที่หลายคนอาจกําลังเผชิญอยู่ ซึ่งภาวะเครียดจากประเด็นทางการเงินนั้น เรียกว่า Financial Anxiety เกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับการใช้จ่าย รวมถึงผู้ที่กังวลถึงความมั่นคงทางการเงินในอนาคตด้วย

Credit: Freepik

รับมือความเครียดทางการเงิน

เมื่อรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคุณได้ จะทําให้เข้าสู่ภาวะเครียดทางการเงินที่รบกวนความสุขของชีวิต ส่งผลให้รู้สึกปวดหัว เครียด อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า หากปล่อยไว้ให้เรื้อรังอาจทําให้นอนไม่หลับ และนําไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอย่างโรคซึมเศร้าได้ มาดูกันว่ามีวิธีจัดการกับภาวะเครียดทางการเงินได้อย่างไรบ้าง


1. สํารวจตัวเอง

เพื่อดูว่าต้นตอของปัญหาทางการเงินของคุณนั้นเกิดจากอะไร จดออกมาเป็นข้อ ๆ แล้วประเมินระดับความเร่งด่วนของปัญหานั้น จะได้แก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนให้คลี่คลายได้ทันเวลา ที่สําคัญปัญหาเงินทองเป็นเรื่องเซนซิทีฟ บางคนจึงเลือกที่จะเก็บปัญหานี้ไว้กับตัวเอง ทั้งที่จริงแล้ว การได้ปรึกษากับกูรูหรือผู้รอบรู้ด้านการเงิน หรือเพื่อนฝูงและครอบครัว ช่วยให้ได้รับคําแนะนําหรือมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากคนรอบตัว ทั้งยังเป็นการระบายความเครียดความกังวลได้ด้วย


2. จดบันทึกการเงินอย่างละเอียด

การไม่สนใจและทําเป็นละเลยใบแจ้งหนี้ต่าง ๆ อาจดูเหมือนช่วยให้รู้สึกเครียดน้อยลง แต่ก็เพียงชั่วครู่เท่านั้น ฉะนั้น ควรทําบันทึกการใช้จ่ายของตัวเองอย่างละเอียด ทั้งรายรับ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม และเงินฉุกเฉิน วิธีนีจะช่วยให้เห็นว่านิสัยการใช้เงินของเราเป็นอย่างไร ใช้ในสิ่งที่จําเป็นหรือสิ่งที่อยากได้มากกว่า เมื่อเห็นแล้วให้เรียงลําดับความสําคัญจากสิ่งที่จําเป็นก่อน แล้วตัดสิ่งที่อยากได้เพื่อลดรายจ่ายลง รวมถึงควรตั้งเป้าหมายในการเพิ่มรายรับ

Credit: tirachardz

3. กําหนดแนวทางการแก้ปัญหา

หลังจากทําบันทึกการเงินแล้ว ให้เรียงลําดับความสําคัญจากสิ่งทีจําเป็นก่อน แล้วตัดสิ่งที่อยากได้เพื่อลดรายจ่ายลง ไปเน้นการเพิ่มรายรับ และแบ่งเงินออมมาลงทุนเพื่อต่อยอดให้มีรายรับเพิ่มขึ้นอีกทาง ซึ่งก็คือการวางแผนการเงินนั่นเอง โดยเริ่มจากวางแผนรายเดือน จะเห็นโครงสร้างการใช้จ่ายจะช่วยให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน และทําแล้วเห็นผล


4. มุ่งมั่น มีวินัย และสมํ่าเสมอ

สุขภาพการเงินก็เช่นเดียวกับสุขภาพกายที่ต้องการความใส่ใจดูแล ให้ความสําคัญอย่างสมํ่าเสมอจากเจ้าของ หากสามารถทําตามคําแนะนําข้างต้นได้ตลอด สถานะทางการเงินจะค่อย ๆ มั่นคงขึ้น และ ความเครียดทางการเงินก็จะดีขึ้นๆ เรื่อย ๆ แต่เพื่อให้แผนการเงินทันกับความผันผวนของสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจ ควรทบทวนและปรับปรุงแผนการเงินทุกเดือน


5. จัดการความเครียดของตัวเอง

อย่างที่รู้กันว่าความเครียดเป็นตัวการบ่มเพาะโรคได้ ส่วนวิธีในการจัดการความเครียดนั้น คือการออกกําลังกายอย่างน้อยสักวันละ 30 นาที การนอนหลับให้เพียงพอ หาเวลาผ่อนคลายเพื่อพักสมองจากความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ การฝึกหายใจ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อเพิ่ม Self-Esteem ให้ตัวเอง หมั่นเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และใช้เวลากับคนที่เห็นคุณค่าในตัวเรา รวมถึงขอบคุณสิ่งดี ๆ ในชีวิตเป็นการสร้างพลังบวกให้ตัวเอง