ในยุคที่หลายประเทศทั่วโลกกระตุ้นให้หันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์สันดาป ประเทศญี่ปุ่น จีน และ สหรัฐอเมริกาประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่า จะลดคาร์บอนให้เป็นศูนย์ และงดการใช้เครื่องยนต์สันดาป ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อน ประเทศไทยก็เช่นกัน มีการตั้งเป้าผลักดันให้เปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคันภายในปี 2568
ทว่า การซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ ทั้งที่รถคันเก่ายังใช้ได้ดี อาจไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกคน
ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ สำหรับคนงบน้อยแต่มีใจรักษ์โลก คือ การนำรถคันเก่ามาเปลี่ยนให้เป็นรถพลังงานไฟฟ้า โดยถอดชุดเครื่องยนต์เดิมออก แล้วใส่มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และที่ชาร์จไฟเข้าไปแทน นอกจากจะช่วยประหยัดเงิน ไม่ต้องซื้อรถคันใหม่แล้ว ยังเป็นการกำจัดขยะยานยนต์ หรือรีไซเคิลรถเก่าให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อย่างชาญฉลาดอีกด้วย
ที่มาของรถ EV DIY และชมรมสล่ายนต์ ล้านนาเชียงใหม่
ไอเดียของการแปลงรถคันเก่าให้เป็นรถพลังงานไฟฟ้า หรือ ‘EV DIY’ เป็นหนึ่งในผลงานต้นแบบของ ‘ชมรมสล่ายนต์ล้านนา เชียงใหม่’ ที่ก่อตั้งโดยคุณนลี อินทรนันท์ หรือครูเบลล่า ด้วย จุดประสงค์ให้เป็นพื้นที่สาธารณะในการรวมตัวกันของช่าง หรือ ‘สล่า’ (ภาษาเหนือ แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่ง) ที่มีจิตสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม และอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมเชียงใหม่
ปัจจุบันมีช่างประจำของชมรมฯ คือ คุณเจษฎา วงศ์ไชย อดีตวิศวกรในบริษัทยานยนต์ที่หันหลังให้ระบบทุนนิยมแล้ว มาทำงานจิตอาสา
ครูเบลล่า เล่าว่า ปัญหาฝุ่นควันในเชียงใหม่ที่เรื้อรังยาวนาน เกิดจากสองสาเหตุหลัก ได้แก่ ‘ภาคดินน้ำป่าบนดอย’ และ ‘ภาคเมือง’ เธอจึงเข้าไปทำงานร่วมกับ ‘สภาลมหายใจ เชียงใหม่’ ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่จัดตั้งขึ้น เพื่อมุ่งแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควัน PM 2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่
“รถ EV DIY ก็เหมือนกับรถไฟฟ้ายี่ห้ออื่น ๆ ที่เป็นรถใหม่ ระบบเดียวกัน แต่ชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจจะไม่แพงเท่ารถไฟฟ้าคันใหม่ วิธีการของเราคือถอดเครื่องยนต์และเกียร์เดิมออก เพื่อให้รถเบาที่สุด แล้วใส่มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และที่ชาร์จไฟ ฯลฯ ส่วนระบบของรถยังเป็นระบบเดิม เช่น ระบบเบรก ระบบไฟฟ้า
ครูเบลล่าดูแลการแก้ปัญหาฝุ่นควันจากภาคเมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้คนโดยตรง เช่น การใช้รถเครื่องยนต์ สันดาปในเมือง ซึ่งปัจจุบันมีรถยนต์ที่จดทะเบียนในเชียงใหม่ คิดเป็น 1,563,609 คัน (ข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 อ้างอิง จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก)
“ในเมืองมีรถเยอะเกินไป ขนส่งสาธารณะก็ไม่มี เราเลยต้องร่วมมือแก้ไขทุกวิถีทางที่จะทำให้จำนวนรถน้อยลง ก่อน หน้านี้พยายามผลักดันให้มีขนส่งสาธารณะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนของนักลงทุนด้วย จึงทำได้ค่อนข้างยาก ส่วนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวก็ลำบาก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าของ แม้แต่การขอให้บ้านแต่ละหลังช่วยกันปลูกต้นไม้ ยิ่งเป็นพื้นที่สาธารณะต้องขออนุญาตจากกรมเจ้าท่า จากเทศบาล ดังนั้น ต้นไม้ 3 แสนต้นที่เราหวังว่าเชียงใหม่จะเป็นแหล่งโอโซนจึงเป็นเรื่องยาก โชคดีที่การเปลี่ยนรถเก่าให้เป็น EV กำลังเป็นเทรนด์ด้วย จึงเป็นโอกาสดีที่ได้จัดการขยะยานยนต์ที่มีอยู่ทั่วเมืองเชียงใหม่ไปด้วย”
รถ EV DIY ทำได้ทุกขนาด
ครูเบลล่าจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของบ้านให้เป็นสำนักงานของชมรมสล่ายนต์ฯ และแหล่งเรียนรู้ ‘โอเอซิส กรีน เอนจิเนียริง เลิร์นนิง เซ็นเตอร์’ (The Oasis Green Engineering Learning Center) ซึ่งเปิดกว้างเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้คนที่สนใจงาน ไฟฟ้าและงานเกษตรกรรม สามารถเข้ามาศึกษาดูงานหรือใช้ เป็นสถานที่ค้นคว้า ทดลองปฏิบัติ ตลอดจนทำงานวิจัยของ นักเรียนนักศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ภายในชมรมสล่ายนต์ฯ มีรถกระบะสีเขียวอ่อนจอดเด่นอยู่ ครูเบลล่าตั้งชื่อรถคันนี้ว่า ‘ตองอ่อน’ เป็นรถ EV DIY คันแรกของชมรมฯ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ปัจจุบันใช้เป็นพาหนะรับ-ส่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายัง ‘กาดต๋องตึง บ้านริมน้ำ’
“รถ EV DIY ก็เหมือนกับรถไฟฟ้ายี่ห้ออื่น ๆ ที่เป็นรถใหม่ ระบบเดียวกัน แต่ชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจจะไม่แพงเท่ารถไฟฟ้าคันใหม่ วิธีการของเราคือถอดเครื่องยนต์และเกียร์เดิมออก เพื่อให้รถเบาที่สุด แล้วใส่มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และที่ชาร์จไฟ ฯลฯ ส่วนระบบของรถยังเป็นระบบเดิม เช่น ระบบเบรก ระบบไฟฟ้า
“รถ EV DIY ทำได้ตั้งแต่รถเล็กไปจนถึงรถบรรทุกเลย ข้อดีของรถไฟฟ้า ถ้าวิ่งระยะใกล้ หรือขับแบบผ่อนเร่ง ๆ หรือผ่อนบ่อย ๆ จะประหยัดแบตเตอรี่ ต่างจากรถที่ใช้น้ำมัน ถ้าขับผ่อนเร่ง ๆ จะเปลืองน้ำมันมาก การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าจะมี แรงเยอะตอนออกตัว ซึ่งเครื่องยนต์ทำไม่ได้ แต่พอออกตัวไปแล้ว ความเร็วของรถไฟฟ้าจะไม่เท่ากับรถเครื่องยนต์สันดาป และ หากวิ่งทางไกล รถไฟฟ้าจะเปลืองแบตเตอรี่มากกว่า
“เพราะฉะนั้น รถไฟฟ้าจึงเหมาะสำหรับวิ่งระยะใกล้ วิ่งในเมือง ถ้าสามารถชาร์จไฟได้บ่อยถืท้าย ๆ ของดี ๆ ถูกคัดไปหมดแล้ว ถ้าเป็นไปได้ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเรื่องการลดภาษีนำเข้าแบตเตอรี่
“อีกเรื่องคือการต่อทะเบียนรถ EV DIY ซึ่งยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และขนส่งทางบกก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่ารถสเปกไหนบ้างที่จะให้ต่อได้หรือไม่ได้ อย่าง ‘ตองอ่อน’ มีปัญหาเรื่องน้ำหนักรถเบา ทำให้ต่อทะเบียนไม่ได้ อันนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งสำหรับคนสนใจและลังเลที่จะเอารถมาทำ เขาก็ไม่อยากทำ เพราะอาจต่อทะเบียนไม่ได้ แต่ด้วย ความที่เราอุทิศตัวให้เป็นสาธารณะ เราจึงต้องสร้างความมั่นใจให้เขา และเรื่องนี้เราจะต่อสู้ให้” คุณเจษฎาย้ำหนักแน่น
สำหรับผลงานของชมรมสล่ายนต์ฯ ที่ผ่านมา มีทั้งเครื่องเป่าลมไฟฟ้าที่เป็นชิ้นงานต้นแบบสำหรับใช้ในสวนสัตว์เชียงใหม่ และกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการแปลงรถ EV DIY คันที่สอง ซึ่งเป็นรถจี๊ปขนาดใหญ่ รวมไปถึงในอนาคตมีแผนที่จะเปลี่ยนมอเตอร์ไซค์คันเก่าให้เป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า สำหรับให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเช่าขับในระหว่างการศึกษาอีกด้วย
“จริง ๆ อะไรก็ตามที่สามารถเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ ทุกอย่างที่จะเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม สามารถยกมาทำโปรเจกต์ที่นี่ได้เลย เราอยากให้ทุกคนใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้ ขอแค่มีใจ และอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เชียงใหม่” ครูเบลล่าทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม