Grid Brief

  • ทักษะองค์กร แบ่งตามความสำคัญของทักษะได้ 4 กลุ่ม คือ ทักษะที่เรียนรู้ได้ทันที (มีประโยชน์และใช้เวลาศึกษาไม่นาน) ทักษะที่วางแผนจะศึกษา (ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้จึงต้องวางแผนก่อน) ทักษะที่ควรรู้ไว้ (เรียนรู้ได้เร็วแต่ยังไม่มีประโยชน์ในตอนนี้) และทักษะที่สนใจ (ไม่มีประโยชน์แต่เป็นเรื่องที่สนใจ ไว้ศึกษาเมื่อมีเวลา)
  • ทักษะที่องค์กรควรวางแผนฝึกอบรมให้พนักงาน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างคอนเทนต์ การเข้าใจในบริบท การสอน การเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น การรับรู้อารมณ์ตัวเอง และการมีจริยธรรม

หากสังเกตรอบ ๆ ตัวในเวลาไม่กี่ปีมานี้ พบว่า มีคอนเทนต์รูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้ง Tiktok Podcast Twitter Clubhouse  แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่เคยหยุดการแข่งขันและการพัฒนา ทำให้เกิดแนวทางใหม่ ๆ อยู่เสมอ ฉะนั้น จึงเท่ากับว่า เรากำลังอยู่ในยุคที่ทักษะและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แถมยังเชื่อมโยงถึงกันอย่างไร้พรมแดนอีกด้วย

ด้าน ‘Harvard Business Review’ ได้ออกแบบแนวคิดสำหรับการจัดลำดับความสำคัญในการสร้างทักษะ สำหรับองค์กร รวมถึงพนักงานทั่วไปก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เช่นกัน โดยแบ่งกลุ่มทักษะองค์กรเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 

1. เรียนในทันที (Learn)

นี่คือทักษะที่มีประโยชน์และใช้เวลาไม่มากในการเรียนรู้ หรือทักษะที่จะช่วยสร้างประโยชน์และรายได้ทันที จึงเป็นทักษะที่ควรเริ่มเรียนรู้ก่อน เพราะนำมาใช้ได้ทันที


2. วางแผนที่จะเรียน (Plan)

เป็นทักษะที่แม้ต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้แต่เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงควรวางแผน หรือค่อย ๆ ศึกษา โดยให้ความสำคัญกับทักษะที่เรียนรู้ได้เร็วก่อน 


3. รู้ไว้คร่าว ๆ (Browse)

เป็นทักษะที่เรียนรู้ได้เร็วแต่ไม่ได้มีประโยชน์สำคัญในตอนนี้ จึงควรเรียนรู้ไว้คร่าว ๆ อย่างเช่น เริ่มทำความเข้าใจภาพรวม หรือทำความเข้าใจคอนเซปต์พื้นฐาน หากเมื่อใดที่ทักษะนี้จำเป็นขึ้นมา จะได้รู้ว่าสามารถหาได้จากที่ไหน 

ทักษะที่องค์กรควรวางแผนฝึกอบรมให้พนักงาน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างคอนเทนต์ การเข้าใจในบริบท การสอน การเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น การรับรู้อารมณ์ตัวเอง และการมีจริยธรรม

4. หลีกเลี่ยง (Ignore) 

บางครั้งคุณอาจรู้สึกสนใจทักษะบางอย่างขึ้นมา แต่ที่จริงแล้วเป็นทักษะที่ไม่ได้มีประโยชน์หรือสำคัญกับคุณในขณะนั้น แต่หากสนใจจริง ๆ การศึกษาไว้ก็ไม่เสียหาย เช่น ทักษะด้านไอที ทักษะด้านการสื่อสาร แต่ควรจัดสรรเวลาให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับสิ่งที่จำเป็นต้องทำ

นอกจากนี้ ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจ หลายองค์กรเผชิญกับช่องว่างของทักษะที่เกิดขึ้นใหม่ หากไม่แก้ วิกฤตนี้อาจจะเกิดอุปสรรคในการปรับตัวขององค์กรได้  ทั้งนี้ ทักษะสำคัญที่ยังไม่ถูกระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่ ซึ่งบริษัทควรวางแผนฝึกอบรมและ reskill ได้แก่ 

  • ด้านการสื่อสาร (Communication) ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการดึงดูดความสนใจของผู้คน และโน้มน้าวให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ 
  • ด้านการสร้างคอนเทนต์ (Content) องค์กรควรสอนพนักงานให้สามารถทำคอนเทนต์ได้อย่าง แข็งแกร่ง
  • ด้านการเข้าใจในบริบท (Context) เมื่อพนักงานเข้าใจบริบททั้งรูปแบบธุรกิจและการแข่งขันแล้วจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
  • ด้านการสอน (Teaching) แม้จะมีคอร์สออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ตามในองค์กร ก็ยังต้องการคนภายในที่มีความสามารถในการสอนผู้อื่น เพราะจะเข้าใจบริบทของการพัฒนาบุคคลภายในองค์กรมากกว่า
  • ด้านการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น (Connection) ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างแน่นแฟ้น และมีกลุ่มเครือข่ายทางสังคมจะสามารถช่วยองค์กรได้อย่างมาก
  • ความสามารถทางด้านอารมณ์ (Emotional Competence)  คือการรับรู้อารมณ์ ทั้งในบริบทของการวิเคราะห์และการกระทำ และการมีวุฒิภาวะที่ดีทางอารมณ์มีผลอย่างมากในการปฎิบัติงาน 
  • เข็มทิศทางจริยธรรม (An Ethical Compass) เมื่อ AI มีความสามารถมากขึ้น ผู้บริหาร ต้องตระหนักถึงความสำคัญด้านจริยธรรม และความสามารถในการตัดสินทางศีลธรรม เพื่อการประยุกต์ใช้ AI ด้วยเช่นกัน