นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT รวมถึงการอัปเดตเวอร์ชันต่าง ๆ Generative AI (GenAI) กลายเป็นประเด็นร้อนที่มีการพูดถึงอย่างแพร่หลายในแวดวงคนทำงาน เราขอพาไปสำรวจนวัตกรรมนี้ว่ามีความสำคัญและนำมาใช้งานด้านไหนบ้าง?
เว็บไซต์ Techtarget ให้คำนิยาม GenAI ไว้ว่า Generative AI คือ เทคโนโลยี AI ประเภทหนึ่งที่สามารถผลิตเนื้อหาประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง และข้อมูลสังเคราะห์ออกมาเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ป้อนให้ได้
สำหรับ GenAI มีคุณสมบัติในการอนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเนื้อหารวมถึงข้อความ รูปภาพ เพลง และรหัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผู้บริโภคมากมาย รวมถึงแชตบอต เช่น ChatGPT, Google Gemini หรือ ERNIE ของ Baidu และขณะนี้ Generative AI กำลังเฟื่องฟู เป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่พร้อมจะพลิกโฉมภาคเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลาย และขยายขอบเขตไปไกลกว่าการสร้างข้อความธรรมดาๆ ที่เหมือนมนุษย์โดยใช้แชตบอต
ทั้งนี้ ระหว่างปี 2014-2023 มีสิ่งประดิษฐ์ GenAI มากกว่า 38,000 รายการมาจากประเทศจีน ซึ่งมากกว่าอันดับที่ 2 อย่างสหรัฐอเมริกาถึง 6 เท่า ส่วนอินเดียมี GenAI มากเป็นอันดับ 5 ของการมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงสุดในบรรดาผู้นำ 5 อันดับแรกที่ 56% รายงานระบุว่า มีการใช้งาน GenAI แพร่กระจายอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การผลิต การขนส่ง การรักษาความปลอดภัย และโทรคมนาคมด้วยความเก่งกาจของ GenAI อย่าง ChatGPT ได้เรียกเสียงฮือฮาจากผู้ใช้งานทั่วโลก ซึ่งการเปิดตัว ChatGPT นี้ถือเป็นการจุดประกายให้ผู้คนได้รู้จักและเริ่มหาทางดึงเอาศักยภาพของ GenAI มาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
ระหว่างปี 2014-2023 มีสิ่งประดิษฐ์ GenAI มากกว่า 38,000 รายการมาจากประเทศจีน ซึ่งมากกว่าอันดับที่ 2 อย่างสหรัฐอเมริกาถึง 6 เท่า ส่วนอินเดียมี GenAI มากเป็นอันดับ 5 ของการมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงสุดในบรรดาผู้นำ 5 อันดับแรกที่ 56%
โดยจากผลสำรวจของ Gartner พบว่า ผู้บริหารทั่วโลกกว่าร้อยละ 45 มองว่าความฮอตของ ChatGPT เป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้ต้องลงทุนใน GenAI ไม่เพียงเท่านั้น กระแสของ GenAI ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเริ่มขยับตัว ไม่ว่าจะเป็น Microsoft ที่เข้าไปลงทุนใน OpenAI รวมมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อนำเทคโนโลยีของ OpenAI ซึ่งเป็นผู้พัฒนา ChatGPT มาเสริมทัพให้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ Googleและ Meta1 ต่างก็ออกมาเปิดเผยว่า ได้พัฒนา GenAI ให้พร้อมสู้ศึกในธุรกิจนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่เพียงแต่ฝั่งสหรัฐฯ เท่านั้น บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากจีนอย่าง Baidu และ Alibaba ต่างตื่นตัวและเร่งพัฒนา GenAI ของตนให้พร้อมต่อกรกับคู่แข่งรายใหญ่อื่น ๆ ในสนามการแข่งขันนี้ด้วย
ตัวอย่าง GenAI ที่สำคัญ ได้แก่
- มีการยื่นสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับ GenAI 54,000 รายการ (ตระกูลสิทธิบัตร) และสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 75,000 รายการที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 2014-2023
- GenAI มีการเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยจำนวนสิทธิบัตร GenAI เพิ่มขึ้น 8 เท่านับตั้งแต่เปิดตัวสถาปัตยกรรมเครือข่ายประสาทเชิงลึกที่อยู่เบื้องหลังโมเดลภาษาขนาดใหญ่ในปี 2017 ในปี 2023 เพียงปีเดียวมีการตีพิมพ์สิทธิบัตร GenAI มากกว่า 25% ทั่วโลกและมากกว่า 45% ของเอกสารทางวิทยาศาสตร์ GenAI ทั้งหมดได้รับการตีพิมพ์ ปัจจุบันสิทธิบัตร GenAI ยังคงมีสัดส่วนเพียง 6% ของสิทธิบัตร AI ทั้งหมดทั่วโลก ผู้ยื่นจดสิทธิบัตร GenAI 10 อันดับแรกของโลกได้แก่ Tencent (2,074), Ping An Insurance (1,564), Baidu (1,234), Chinese Academy of Sciences (607), IBM (601), Alibaba Group (571), Samsung Electronics ( 468), Alphabet (443), ByteDance (418), Microsoft (377)
ที่มา
Photo: Rawpixel