การปลูกพืชในเรือนเพาะชำมีข้อดีมากมาย ทั้งช่วยลดการใช้พื้นที่ ปุ๋ยและน้ำได้มากกว่าการปลูกกลางแจ้ง และยังช่วยให้ผลผลิตการเกษตรเข้าใกล้ผู้บริโภคได้มากขึ้นเพราะโรงเรือนสามารถตั้งที่ไหนก็ได้ เท่ากับช่วยลดการใช้พลังงานในการขนส่งและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำร้ายโลกไปในตัว 

ภาพปลูกต้นไม้ในเรือนเพาะชำตอนกลางคืนที่อาศัยแสงจากหลอดไฟเพื่อแทนแสงในธรรมชาติ

ทว่า การเพาะปลูกในเรือนเพาะชำจำเป็นต้องอาศัยแสงจากหลอดไฟเพื่อทดแทนแสงในธรรมชาติ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์พืชสวนแห่ง University of Florida จึงคิดค้นและทดลองเพื่อหาทางลดการใช้พลังงานในเรือนเพาะชำ โดยใช้วิธีเลียนแบบวงจรแสงธรรมชาติ คือสว่าง 12 ชั่วโมง มืด 12 ชั่วโมง วิธีนี้ให้ผลผลิตดีแต่เพิ่มต้นทุนจากค่าไฟอีก 25% 

นักวิจัยจึงปรับกระบวนการทดลองใหม่ ด้วยการปลูกเคล เทอร์นิพ และ บีทรูท โดยเปิดไฟ 5 วินาทีแล้วปิดไฟให้พืชอยู่ในความมืด 10 วินาที พบว่า ช่วยลดพลังงานไฟฟ้าได้ 30% โดยที่อัตราการเจริญเติบโตของผักไม่ลดลงตามไปด้วย 

กล้าของต้นผักในถาดเพาะชำ

ต่อมานักวิจัยเปิดไฟ 5 วินาที และ ปิดไฟ 20 วินาที กระทบการเติบโตเล็กน้อย ซึ่งพืชตอบสนองด้วยการโตแค่ในช่วงเวลาปิดไฟมืด แต่สิ่งที่ทำให้ทีมนักวิจัยตื่นเต้นก็คือ วิธีนี้ช่วยลดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 60% 

การค้นพบใหม่ครั้งนี้สำคัญมาก เพราะจะนำทางไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำเกษตรในที่ร่มที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด