เมื่อโลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำเค็มก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักวิจัยจึงพยายามหาทางนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีมหาศาลนี้มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด หรือเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นเชื้อเพลิง 

ท่อวางเรียงหน้ากระดานที่ใต้ทะเล โดยมีวาล์วอยู่ด้านบน

เมื่อ 6 ปีก่อน ทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งกองทัพเรือสหรัฐประกาศว่า สามารถสกัดคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนจากน้ำทะเล แล้วเปลี่ยนให้เป็นไฮโดรคาร์บอนเหลวที่มีประสิทธิภาพ ใช้เป็นองค์ประกอบหลักของเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติได้ เพียงแต่ยังผลิตในปริมาณมากไม่ได้ เพราะต้นทุนสูง กระทั่งในปีนี้ วิศวกรเคมีแห่ง University of Rochester ค้นพบวิธีการใหม่ที่สามารถเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ มีต้นทุนต่ำลงจนผลิตในเชิงพาณิชย์

ทว่า การเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ที่สกัดจากน้ำทะเลนั้นให้ให้เป็นไฮโดรคาร์บอนเหลวโดยตรงนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงต้องเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นคาร์บอนมอนอกไซด์เสียก่อน แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นไฮโดรคาร์บอนเหลวอีกที แต่เดิมตัวเร่งปฏิกิริยานี้ต้องใช้โลหะ ซึ่งมีข้อเสียที่มีราคาแพง และ หมดสภาพเร็ว

นักวิจัยกลุ่มนี้จึงเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาจากโลหะไปใช้โมลิบดีนัมคาร์ไบด์จากโพแทสเซียมแทน ทำให้ต้นทุนถูกลง และ ทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพต่อเนื่องตลอดการทดลอง 10 วัน เท่ากับว่าในที่สุดโลกค้นพบแหล่งเชื้อเพลิงใหม่ที่มีอย่างล้นเหลือ และ พร้อมจะผลิตขายเชิงพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้แล้ว