Grid Brief
- ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบ้านเป็นได้ตั้งแต่คีย์บอร์ด คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงเครื่องซักผ้าและเครื่องฟอกอากาศ หากไม่คัดแยกแล้วทิ้งปะปนกับขยะอื่น ๆ ก็จะกลายเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น ควรคัดแยกไว้แล้วจัดส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกำจัดอย่างถูกวิธี
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-เวสต์ (e-waste) หรือ WEEE (Waste Electrical and Electronic Equipment) คือ ขยะที่มาจากอุปกรณ์ที่ใช้งานด้วยพลังงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมักจะเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน แบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและขนาดของอุปกรณ์ ได้แก่
- ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และทีวี
- อุปกรณ์ในภาคเกษตร เช่น เครื่องปั่นลม และเครื่องตัดหญ้า
- อุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ
- อุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องช่วยหายใจ
ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีมากถึง 62 ล้านตันในปี 2564 เพิ่มขึ้น 82% ในรอบ 1 ทศวรรษ จนกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยสารพิษหลายชนิด เช่น โลหะหนัก สารปรอท สารตะกั่ว แคดเมียม beryllium สารหน่วงไฟ CFCs เมื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกทิ้งลงในพื้นที่ โลหะหนักจะปนเปื้อนในดินและน้ำ ส่งผลต่อระบบนิเวศที่จะย้อนกลับมาทำลายสุขภาพของมนุษย์ โดยก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง ส่งผลต่อระบบประสาทและกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการเผาจะปล่อยก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ และส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนที่กำลังสร้างผลกระทบต่อโลกในทุก ๆ ด้าน
อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ใช้แล้วจะไปอยู่ที่ไหน?
ประเทศไทยเผชิญวิกฤตขยะที่สั่งสมมาจากครัวเรือนในชุมชนต่าง ๆ มากไม่แพ้กับประเทศอื่นโดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยประมาณ 4 แสนตันต่อปี ขณะที่มีการกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องเพียง 20% เท่านั้น
ขยะชิ้นเล็กต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เมื่อเลิกใช้แล้วเป็นขยะ ส่วนหนึ่งถูกทิ้งไป แต่ผู้คน 35 – 40% เก็บโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วไว้ในบ้าน ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อเสียหรือหมดอายุการใช้จะขายให้ผู้รับซื้อของเก่า แต่ยังมีคน 15 – 20% ที่เก็บขยะเหล่านี้ไว้ที่บ้าน สะสมเพิ่มจำนวนขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปจึงโละทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไปโดยไม่คัดแยกและหาทางกำจัดขยะอย่างถูกต้อง
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้อง สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการไม่คัดแยกโลหะต่าง ๆ ในขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปรีไซเคิลให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ยังเป็นการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอีกด้วย
กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไรให้ถูกวิธี
การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 12.6 กิโลกรัม แล้วขยะอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช้แล้ว หากรีไซเคิลอย่างถูกต้องจะช่วยลดการปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศได้มากเพียงไร
ทั้งนี้ หลักการง่าย ๆ ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ทำได้โดย คัดแยกขยะ – รีไซเคิล – กำจัดอย่างถูกวิธี
และเราทุกคนมีส่วนร่วมในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการ ลดการใช้ – ซ่อมแซม – บริจาค – รีไซเคิล
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน ส่งไปไหนดี?
เมื่อคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว สามารถจัดส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ
ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ แล้วส่งต่อให้บริษัทรับกำจัดและดำเนินการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง เป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากสารตกค้าง เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพตามมา โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รับ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต อุปกรณ์เสริม โน้ตบุ๊ก อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชิ้นเล็ก และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็ก
การจัดส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปได้ที่
โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก
ชั้น 8 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โดยขอความร่วมมือช่วยห่อพัสดุด้วยวัสดุกันกระแทกก่อนจัดส่ง เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่จัดเก็บและขนส่ง สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหญ่สามารถให้พนักงานเก็บขยะมูลฝอยนำไปส่งให้สำนักงานเขตหรือและงดรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือขยะอันตราย ดังนี้
1. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่ เช่น ทีวี แอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ (รับได้ชิ้นใหญ่สุดคือโน้ตบุ๊ก)
2. แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่านไฟฉาย ถ่านกระดุม
3. หลอดไฟ
หากไม่มั่นใจว่าทางโครงการฯ รับอุปกรณ์ใดบ้าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2218-3959 และ FB: https://www.facebook.com/ChulaLovestheEarth/?locale=th_TH
- โครงการ WEEE HAPPY
รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปจัดการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี โดยส่งพัสดุไปที่
โครงการ WEEE HAPPY 79/29 หมู่ 19 ซอยธนสิทธิ์ ถนนเทพารักษ์ บางพลีใหญ่ บางพลี สมุทรปราการ 10540 หรือนำไปส่งด้วยตนเองได้ที่
โครงการ WEEE HAPPY 79/29 หมู่ 19 ซอยธนสิทธิ์ ถนนเทพารักษ์ บางพลีใหญ่ บางพลี สมุทรปราการ 10540
Google Map: https://g.page/niquecorp?share
- E-Waste+
แพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยี Blockchain ที่ช่วยให้เห็นกระบวนการตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่ ผู้ทิ้งขยะ (Customers) ผู้รับขยะ (Drop Point Agents) การขนส่ง ไปจนถึงปลายทางโรงงานจัดการขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ตามมาตรฐานแบบ Zero Landfill
ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ต เช่น หูฟัง ลำโพง สายชาร์จ อะแดปเตอร์
- ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก เมาส์ คีย์บอร์ด ฮาร์ดดิส ลำโพง
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่น ๆ เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นดีวีดี จอยเกม วิทยุสื่อสาร เครื่องคิดเลขโทรศัพท์บ้าน รีโมตคอนโทรล เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น
ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ พาวเวอร์แบงก์ และถ่านไฟฉายทุกประเภท
วิธีการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยแอปฯ E-Waste+ ทำได้โดย
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ‘E-Waste+’ ซึ่งรองรับทุกเครือข่ายและทั้งระบบ Android และ IOS ลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกผู้รักษ์โลก โดยกรอกชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และตั้งรหัสผ่าน หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ (โดยสามารถลงทะเบียนได้ทุกเครือข่าย) สามารถโหลดแอป E-Waste+ ได้ทาง https://m.ais.co.th/ApH8dgAi8
- ลงทะเบียนและนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งที่จุดรับของ E-Waste+ โดยมีเจ้าหน้าที่ในการรับขยะถ่ายภาพและใส่ข้อมูลเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นได้ว่าขณะนี้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ของคุณอยู่ในขั้นตอนไหน และแสดงผลลัพธ์การส่งขยะเสร็จสมบูรณ์ถึงโรงงานที่ได้มาตรฐานเพื่อทำการจัดการอย่างถูกวิธีแก่ผู้ทิ้งขยะ จนออกมาเป็น Carbon Score หรือปริมาณการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้แบบเรียลไทม์
ล่าสุด แอปฯ E-Waste+ คว้ารางวัล Winner of WSIS Prize 2024 ในสาขาสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (WSIS Action Lines C7 E-Environment) ได้สำเร็จ โดย WSIS Prize เป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union :ITU) และองค์การสหประชาชาติ (United Nations :UN) โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสนับสนุนให้องค์กรทั่วโลกนำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs